Yao Ming - Rage Face Comics

WELCOME

ยินดีต้อนรับสู่บล็อควิชาสังคมศึกษา

วันเสาร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

 วธ.หนุน “ไร่หมุนเวียน” เป็นมรดกความทรงจำแห่งโลก

                                        
        วธ.หนุนไร่หมุนเวียน เป็นมรดกความทรงจำแห่งโลก ของยูเนสโก ชี้ เป็นองค์ความรู้ที่ทำให้ชาวเขา ชาวกะเหรี่ยง มีวิถีชีวิตที่ดีขึ้น เผย ปัจจุบัน ปชช.ยังเข้าใจผิดว่าไร่หมุนเวียนเป็นการทำลายทรัพยากรธรรมชาติ แท้จริงคือการอยู่ร่วมกับธรรมชาติอย่างยั่งยืน  อ่านต่อ

วันอาทิตย์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

เศรษฐศาสตร์กับภูมิศาสตร์เศรษฐกิจ


เศรษฐศาสตร์เบื้องต้น   เศรษฐศาสตร์เป็นแขนงหนึ่งของสังคมศาสตร์ ซึ่งว่าด้วยกิจกรรมของมนุษย์  ความขาดแคลนทรัพยากรและปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ(ผลิตอะไร  อย่างไร  เพื่อใคร) ที่เกิดขึ้นในสังคม ทำให้แต่ละสังคมต้องหาวิธีการแก้ไข เศรษฐศาสตร์จึงเข้ามามีบทบาทในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อหาหนทางในการจัดสรรทรัพยากรหรือปัจจัยการผลิต(ที่ดิน  ทุน  แรงงาน และการประกอบการ) ที่มีอยู่จำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด
          เศรษฐศาสตร์ (Economics)  หมายถึง  วิชาที่ศึกษาถึงวิธีการจัดสรรทรัพยากรอันมีอยู่จำกัด เพื่อผลิตสินค้าและบริการต่างๆในการสนองความต้องการของมนุษย์ซึ่งมีไม่จำกัดเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด
                คริสต์ศตวรรษที่ 18 การศึกษาวิชาเศรษฐศาสตร์อย่างเป็นแบบแผนได้เริ่มขึ้น โดยผู้วางรากฐานและได้รับการยกย่องว่าเป็น   บิดาแห่งวิชาเศรษฐศาสตร์”     คือ   อาดัม     สมิท     นักเศรษฐศาสตร์ชาวอังกฤษ    โดยหนังสือชื่อ ความมั่งคั่งของประชาชาติ   (The  Wealth  of  Nations)    ที่เขาเขียนขึ้นในปี ค.ศ.1776   (พ.ศ.2319)   ถือเป็นตำราเศรษฐศาสตร์เล่มแรกและยิ่งใหญ่ที่สุดของโลกมาจนถึงยุคปัจจุบัน
                เศรษฐศาสตร์จุลภาค  หมายถึง   การศึกษาพฤติกรรมทางเศรษฐกิจในระดับหน่วย หรือระดับบุคคลใดบุคคลหนึ่ง หรือหน่วยงานการผลิตแต่ละกลุ่มหน่วยใดหน่วยหนึ่งหรือ เฉพาะบุคคล หรือหน่วยงานการผลิต ซึ่งแต่ละกลุ่มเกี่ยวกับส่วนย่อยๆของระบบเศรษฐกิจ ซึ่งได้แก่  หน่วยครัวเรือน  หน่วยธุรกิจ  และ หน่วยรัฐบาล
                เศรษฐศาสตร์มหภาค  หมายถึง   การศึกษาพฤติกรรมทางเศรษฐกิจของทั้งระบบโดยรวม ได้แก่ รายได้ประชาติ 
ภาวะเงินเฟ้อ    เงินฝืด      การออม    การลงทุน   การจ้างงาน    และ    การบริโภครวมทั้งการคลัง  การค้าระหว่างประเทศและดุลการชำระเงิน การพัฒนาเศรษฐกิจ 
                เศรษฐศาสตร์มหภาค   มีเนื้อหา  ส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับรายได้และการจ้างงาน ในอดีต จึงเรียกว่า ทฤษฎีรายได้และการจ้างงาน
                สรุป    เศรษฐศาสตร์จุลภาค    เป็นการศึกษากิจกรรมทางเศรษฐกิจของบุคคลหรือกลุ่มบุคคล     แตกต่างจากเศรษฐศาสตร์มหภาค   ที่ศึกษากิจกรรมทางเศรษฐกิจระดับประเทศและระหว่างประเทศ
                ความสัมพันธ์ของเศรษฐศาสตร์กับภูมิศาสตร์เศรษฐกิจ
                ภูมิศาสตร์เศรษฐกิจ เป็นกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องกับการครองชีพของมนุษย์ ทรัพยากรธรรมชาติ  การผลิต  การใช้  และ   การกระจายของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ด้านเกษตรกรรม  อุตสาหกรรม  พาณิชยกรรม  การคมนาคมขนส่ง  การค้าระหว่างประเทศ และการบริการแก่ประชาชนในดินแดนต่างๆของโลก โดยมีความสัมพันธ์กับเศรษฐศาสตร์ ซึ่งเป็นวิชาที่ศึกษาถึงวิธีการจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่จำกัด เพื่อผลิตสินค้าและบริการต่างๆสนองความต้องการของมนุษย์ซึ่งโดยทั่วไปมีความต้องการไม่จำกัดในด้านต่างๆ  สรุปได้ดังนี้
1. ความสัมพันธ์ของสิ่งแวดล้อมที่มีต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ประกอบด้วย
    1.1 ลักษณะภูมิประเทศ หมายถึง ลักษณะทางกายภาพของแผ่นดิน ความสูงต่ำของผิวโลก  ที่ราบลุ่มแม่น้ำมีความอุดมสมบูรณ์จะเหมาะสมกับการตั้งถิ่นฐาน  การคมนาคมขนส่งสะดวก  แต่ไม่ปลอดภัยจากการรุกราน  แต่ที่ราบสูง  ภูเขา จะ   แห้งแล้ง  การคมนาคมขนส่งไม่สะดวก  ไม่เหมาะกับการตั้งถิ่นฐาน แต่ปลอดภัยจากการรุกราน บริเวณที่ติดทะเลก็จะมีการประกอบอาชีพเกี่ยวกับทะเล  เป็นต้น
    1.2   ลักษณะภูมิอากาศ  หมายถึง  ลักษณะอากาศประจำถิ่นในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งมีอิทธิพลต่อปัจจัย 4 ของมนุษย์ ได้แก่  อาหาร   เครื่องนุ่งห่ม  ที่อยู่อาศัย  ยารักษาโรค รวมทั้งการประกอบกิจกรรมต่างๆของมนุษย์ในเขตต่างๆ ของโลก เช่น เขตร้อนส่วนใหญ่ปลูกข้าวเจ้า   ใส่เสื้อผ้าบาง  มีฝนตกชุก ซึ่งมักจะปลูกอาคารบ้านเรือนมีหลังคาชันเพื่อใต้ถุนสูง เพื่อให้น้ำฝนไหลสะดวกและไม่ขังบริเวณใต้ถุนบ้าน  สำหรับกิจกรรมของประชากรส่วนใหญ่จะอาศัยลักษณะลมฟ้าอากาศและภูมิอากาศเข้าช่วย เช่น  การทำนาข้าว  ส่วนมากจะทำในฤดูฝน  ส่วน การทำนาเกลือ  การก่อสร้าง  การทาสี   ก็จะทำกันในฤดูแล้ง  และ ลักษณะภูมิอากาศยังมีผลต่อสุขภาพและพลังงานในตัวมนุษย์หลายประการ เช่น    ประชาชนในเขตร้อนจะเหนื่อยง่าย  หอบเร็ว ทำงานไม่ค่อยมีประสิทธิภาพ มีสุขภาพไม่ค่อยแข็งแรง   ต่างจากประชากรในเขตหนาวหรือ  เขตอบอุ่นจะมีความขยัน อดทน กระตือรือร้นมากกว่า  เป็นต้น
 2. กิจกรรมทางเศรษฐกิจในภูมิภาคต่างๆของโลก  แบ่งเป็น
    2.1 กิจกรรมทางเศรษฐกิจแบบเลี้ยงตนเอง (Subsistence  Economic  Activities)  หรือ   เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าเศรษฐกิจแบบยังชีพ (Subsistence  Economy   หมายถึง  ชีวิตความเป็นอยู่แบบง่ายๆ ไม่สลับซับซ้อน เช่น  การเก็บหาของป่า   การล่าสัตว์   การจับปลา   การเพาะปลูก เพื่อการบริโภคเอง  ไม่ได้ผลิตเพื่อจำหน่าย ไม่มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี  เป็นลักษณะของชุมชนในอดีต หรือชนบทที่ห่างไกลความเจริญ
    2.2 กิจกรรมทางเศรษฐกิจแบบการค้า  หมายถึง  สังคมที่สลับซับซ้อน เป็นลักษณะของประเทศส่วนใหญ่ในโลก รวมทั้งไทยในปัจจุบัน  มนุษย์จะไม่ทำการผลิตสิ่งของที่ตนเองต้องการเองทุกอย่าง แต่จะแบ่งอาชีพกันทำตามความถนัด  แล้วนำผลผลิตมาซื้อขายแลกเปลี่ยนกันโดยใช้เงินเป็นสื่อกลาง  กิจกรรมทางเศรษฐกิจเพื่อการค้า เป็นการประกอบอาชีพเพื่อส่งออกจำหน่ายไปยังภูมิภาคต่างๆของโลก โดยอาศัยระบบการคมนาคมขนส่งให้สินค้าเข้าสู่ตลาดจะนำผลประโยชน์มาสู่สังคมที่เจริญ หรือระบบสังคมที่ซับซ้อน ตลอดจนทั้งเขตชุมชนและเมืองต่างๆทุกแห่งในโลกปัจจุบัน